วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบและการให้บริการธุรกิจสปา

หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน จะพบว่าธุรกิจสปาในประเทศไทยเป็นเพียงกิจการหนึ่งที่ตั้งแฝงตัวอยู่ภายในโรงแรมหรูเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก และยังดูเหมือนว่าเป็นกิจการที่มีบทบาทเชิงพาณิชย?ในขอบเขตค่อนข้างจํากัด จึงไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง

          แต่ในปัจจุบัน กระแสที่คนไทยได้เพิ่มความเอาใจใส่ต่อสุขภาพอย่างจริงจัง ทำให้ความต้องการสถานบริการเพื่อการผ่อนคลายมีมากขึ้น ประกอบกับมีสถานบริการสปาผุดขึ้นรายล้อมไปทั่วไม่ว่าจะเป็นในเมืองหรือย่านธุรกิจสําคัญภายใต้แนวคิดการให้บริการที่หลากหลายรูปแบบ รวมทั้งการทุ่มประชาสัมพันธ์กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเห็นได้จากการที่ธุรกิจบริการหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นโรงแรมหรือโรงพยาบาลชั้นนํามีการแข่งขันกันนําศูนย์สปาเพื่อสุขภาพมาผนวกเข้ากับแผนกลยุทธ์ช่วงชิงตลาดลูกค้าใหม?และรักษาฐานตลาดเดิมกันอย่างรุนแรง ทําให้เป็นที่จับตามองกันว่า ธุรกิจสปาน่าจะเป็นอีกธุรกิจหนึ่งในบรรดากลุ่มธุรกิจบริการด้านสุขภาพที่มีศักยภาพการเติบโตสูงต่อไปได้ และมีการขยายตัวสูงของทั้งผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการที่ร่วมทุนกับชาวต่างชาติ ซึ่งมีสถานบริการสปาตั้งอยู่ในโรงแรมหรือ
รีสอร์ตที่กระจายอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวหลักทั่วประเทศ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาใช้บริการสปาในประเทศไทย



          ธุรกิจสปาไทยจัดได้ว่ามีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ มีอัตราการเติบโตสูงในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นในอเมริกา ยุโรป และเอเซีย และเป็นที่นิยมอันดับ 1 ในเอเซีย โดยภาพรวมธุรกิจ สปาไทยมีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 20-30 โดยแบ่งเป็น ลูกค้าต่างประเทศประมาณร้อยละ 80 และลูกค้าไทยประมาณร้อยละ 20 กล่าวคือ ธุรกิจสปามีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว ประกอบกับรัฐบาลได้สนับสนุนให้สปาเป็นอีกหนึ่งสินค้าทางการท่องเที่ยวองไทย พร้อมกำหนดเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางสปาแห่งภูมิภาคเอเซีย จึงทำให้มีผู้สนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้เป็นจำนวนมาก โดยมียอดที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสมาคมสปาแห่งประเทศไทยจำนวนถึง 400 ราย และที่ไม่ได้อยู่ในสมาคมอีกจำนวนนับพันรายทั่วประเทศ ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ เป็นต้น
         ก้าวย่างที่น่าจับตามองของธุรกิจสปาไทยยังขยายไปถึงความคึกคักที่กําลังเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สะท้อนถึงการตื่นตัวและการตอบรับที่ดีของตลาดซึ่งมีพฤติกรรมและวิถีชีวิตหันเข้าสู่แนวทางธรรมชาติบําบัดเป็นทางเลือกนอกเหนือจากที่เคยไปดูหนัง ช้อปปิ้ง หรือเข้าร้านเสริมสวย เพื่อผ่อนคลายความเครียดเช่นในอดีตที่ผ่านมา
การจำแนกธุรกิจสปา
คำว่า “ สปา ” ที่พอจะจำแนกตามหลักการขององค์กรสปาระหว่างประเทศ หรือ International Spa Association (ISPA – Europe ) แบ่งออกได้เป็น

Hotel & Resort Spa ได้แก่ สถานบริการสปาที่อยู่ในโรงแรมหรือรีสอร์ต เพื่อรองรับผู้มาพักแรมที่ต้องการใช้บริการสปา เพื่อผ่อนคลายนอกเหนือจากใช?บริการห้องพัก ซึ่งถือเป็นรายได้หรือบริการเสริมที่เพิ่มศักยภาพให้กับโรงแรม จึงทำให้ขณะนี้ ทุกโรงแรมก็ว่าได้จะต้องมีบริการด้านสปาไว้ให้บริการ และมักจะมีอยู่ในโรงแรมระดับ 4-5 ดาว เนื่องจากเป็นบริการเสริมที่ให้ผล หรือค่าตอบแทนกับตัวกิจการหลักได้เป็นอย่างดี
Destination Spa เป็นสปาที่ตั้งแยกออกมาต่างหากอย่างเด่นชัด เพื่อให้บริการดูแลสุขภาพ ด้วยบริการสปาเป็นการเฉพาะอย่างครบวงจรผู้มาใช้บริการจะต้องเข้ารวมกิจกรรมภายใต?โปรแกรมที่เตรียมไว?ให้เลือกมากมาย เช่น โปรแกรมพักผ่อนคลายเครียด โปรแกรมทําสมาธิ และดูแลสุขภาพจิต เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการให้บริการสปาร่วมกับที่พัก

ปัจจุบัน Destination Spa ในเมืองไทยที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศและเป็นที่รู้จักแพร่หลายเป็นอย่างดี ได้แก่ ชีวาศรม อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และระรินจินดา อำเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สปาประเภทนี้จะใช?เทคโนโลยีในการบำบัดให้กับผู้ที่มาใช้บริการ การเข้ามาใช้บริการผู้ใช้บริการจะต้องทำตามโปรแกรมที่กำหนดเท่านั้น ส่วนค่าบริการนั้นอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง หรือแพงกว่าธุรกิจสปาทั่วไป อันเนื่องมาจากเจ้าของสถานประกอบการต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงในการดำเนินการ ซึ่งส่วนมากเป็นการลงทุนในการก่อสร้างสถานที่เพื่อรองรับความหรูหราของห้องพัก ห้องบริการที่เต็มไป ด้วยอุปกรณ?ความทันสมัย ตลอดจนสร้างอาณาเขตรอบด้านที่ขนาบไปด้วยทัศนียภาพทางธรรมชาติที่งดงาม สงบ และมีความเป็นส่วนตัวสูง
Medical Spa เป็นสปาที่มีการบําบัดรักษาควบคู?กับศาสตร์ทางการแพทย?และเครื่องมือแพทย?
บางอย่างภายใต?การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ และแพทย์?ผู้เชี่ยวชาญ บริการสปานี้มักอยู?ตามสถานรักษาพยาบาล อาทิ โรงพยาบาล คลินิก การขยายตัวของสปาประเภทนี้อันเนื่องมาจากธุรกิจโรงพยาบาลมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ดังนั้น เจ้าของกิจการ หรือผู้ประกอบการจึงมีแนวคิดที่จะนำศาสตร์การบำบัด รักษามาผสมผสานควบคู่กับทางการแพทย์ และเครื่องมือแพทย์ เพื่อเป็นการเพิ่มอีกทางเลือกหนึ่งให้กับคนไข้ หรือผู้มาใช้บริการของโรงพยาบาล หรือคลีนิคการแพทย์แผนไทย
Day Spa or City Spa เป็นสปาที่ใช?เวลาในการทําให?เสร็จระหว่างวัน อาจเพียงแค? 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง จึงไม?จําเป็นต้องมีห้องพักไว้บริการ สถานที่ตั้งของสปาประเภทนี้จึงมักอยู?ในเมืองใหญ? ๆ หรือย่านธุรกิจสําคัญที่ผู้มาใช้บริการสามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก เช่น ย่านถนนสีลม หรือ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ อาทิ ภูเก็ต หาดใหญ่ เป็นต้น จะมีสปาประเภทนี้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก และสาเหตุที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของ Day Spa มักจะอาศัยความได?เปรียบในด้านต้นทุนที่ต่ำ การคิดอัตราค่าบริการที่ถูกกว่าสปาในโรงแรมระดับหรูเป็นเท่าตัว และมีฐานตลาดจากธุรกิจเดิมอยู?แล้ว อาทิ ธุรกิจผลิตภัณฑ์สปา ธุรกิจเครื่องหอมและสมุนไพร ธุรกิจเสริมความงาม ธุรกิจการนวดแผนโบราณ และธุรกิจด้านการแพทย?
Mineral Spring Spa เป็นการให้บริการสปาตามแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นบ่อน้ำแร?หรือน้ำพุร้อนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สปาประเภทนี้ในเมืองไทยนั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลาย อันมีสามาเหตุมาจากแหล่งที่เกิดน้ำพุร้อนส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ และพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นพื้นที่ของทางราชการ ดังนั้น การที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำพุร้อนกำเนิดอยู่นั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากต้องผ่านขั้นตอนการขออนุญาตกับทางราชการหรือหน่วยงานที่เป็นเจ้าของพื้นที่เท่านั้น หรืออาจจะถูกต่อต้านจากชุมชนรอบข้างที่ใช้พื้นที่นั้นในการทำมาหากินอยู่แล้ว จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่มีบทบาทและหน้าที่โดยตรงในการผลักดันให้เกิดการพัฒนา
ปัจจุบันธุรกิจ Mineral Spring Spa ที่พอจะมีให้เห็นได้แก่

แหล่งน้ำพุร้อนระนอง จังหวัดระนอง
แหล่งน้ำพุร้อนท่าสะท้อน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
แหล่งน้ำพุร้อนป่าตึง ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
แหล่งน้ำพุร้อนผาเสริฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
แหล่งน้ำพุร้อนสันกำแพง กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

ซึ่งแหล่งน้ำพุร้อนที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นแหล่งน้ำพุร้อนที่บริหารงานโดย องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (สพท.) ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนโดยมีการสำรวจพื้นที่ ที่เป็นแหล่งน้ำพุร้อนที่มีศักยภาพและสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้ และได้มีการทำ Conceptual Design ไปบ้างแล้วบางส่วน มีจำนวนถึง 10 แห่ง ได้แก่


น้ำพุร้อนควนแคง อำเภอกันตรัง จังหวัดตรัง
น้ำพุร้อนท่าสะท้อน อำเภอพูนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
น้ำพุร้อนบ้านกรูด อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
น้ำพุร้อนสวนโมก อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
น้ำพุร้อนคลองปลายพู่ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา
น้ำพุร้อนหนองหญ้าปล้อง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
น้ำพุร้อนหนองแห้ง อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
น้ำพุร้อนมะลิกา อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
น้ำพุร้อนผาเสริฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
น้ำพุร้อนบ้านขาม อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์


น้ำพุร้อนจำนวน 10 แห่ง ที่กล่าวข้างต้นนี้เป็นพื้นที่ที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ความสนใจและมองเห็นศักยภาพที่จะเข้าไปพัฒนาและต่อยอดทางธุรกิจร่วมกับหน่วยงานที่กำกับดูแลพื้นที่นั้น ๆ และสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นำมาพัฒนาและทำเป็นโครงการนำร่องภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ

Club Spa เป็นสปาที่มีการผสมผสานกับฟิตเนสหรือการออกกําลังกายเพื่อไว?บริการสมาชิกสโมสร ธุรกิจสปาประเภทนี้จะว่าไปแล้วเป็นสิ่งที่เกิดมานานแล้วในประเทศไทย เพียงแต่ว่าการเรียกในสมัยดั้งเดิมจะเรียก Club House หรือสถานที่ออกกำลังกาย แต่ปัจจุบันได้นำเอาศาสตร์ทางการบำบัดเข้ามาผสมผสานกับการออกกำลังกายเพื่อให้ดึงดูดกลุ่มผู้ใช้บริการ หรือผู้บริโภคที่มีความต้องการด้านนี้โดยเฉพาะให้เข้ามาใช้บริการ
Cruise Ship Spa เป็นการให้บริการสปาบนเรือสําราญ ผสมผสานกับการออกกําลังกาย การจัดเตรียมอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพกาย เพื่อให้มีความสุขสบาย ผ่อนคลาย และปลอดโปร่่งระหว่างเดินทาง ธุรกิจสปาประเภทนี้ยังไม่แพร่หลายในเมืองไทยมากนัก และมีเพียงไม่กี่ราย อาทิเช่น บริษัทเรือ Star Cruise เป็นต้น

         ถึงแม?ธุรกิจสปาจะเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ แต่ก็ไม่ควรมองข้ามข้อจํากัดเกี่ยวกับจํานวนบุคลากรที่มีความรู?และเชี่ยวชาญต่อการบริหารธุรกิจสปาอย่างแท้จริง ซึ่งยังมีไม่เพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของสถานบริการสปาที่มีต่อเนื่อง ทําให้เกิดปัญหาการแย่งตัวกันด้วยการเสนอผลตอบแทนที่สูง ยิ่งกว่านั้น สถานบริการสปาที่มีอยู?หลายแห่งตอนนี้ยังมีข้อจํากัดในการด้านการควบคุมคุณภาพ และการให?บริการสปาอย่างถูกต้องตามมาตรฐานเดียวกัน สาเหตุสำคัญมาจากการที่ธุรกิจสปาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย ปัญหาการตัดราคาค่าบริการที่ส่วนหนึ่งเกิดจากข้อได้เปรียบของการประกอบธุรกิจนี้ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจบริษัทนำเที่ยว โดยเฉพาะการเข้ามาดำเนินธุรกิจของต่างชาติ ทำให้มีข้อได้เปรียบตรงที่สามารถลดราคาได้เนื่องจากมีลูกค้าอยู่ในมือในขณะที่ผู้ประกอบการทั่วไปที่ประกอบการสปาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถที่จะทำได้
          ซึ่งจากการเก็บข้อมูลโดยโครงการศึกษาวิเคราะห์และเตือนภัย SMEs รายสาขา สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงเป็นไยในธุรกิจนี้ โดยจัดอยู่ในกลุ่มประเภทธุรกิจภาคบริการที่คาดว่าจะมีผลตอบแทนจากการทำงานที่ต้องระวังในปี 2551 นี้ เนื่องจาก ระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีธุรกิจสปาขนาดเล็กเกิดขึ้นมากมาย จนปัจจุบันเกินความต้องการของตลาด และเมื่อผู้บริโภคจะเลือกใช้บริการจริงๆ จะตัดสินใจใช้บริการของรายใหญ่ เพราะมั่นใจในคุณภาพมากกว่า
          ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข?องทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กรมสรรพสามิต สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( ISMED) และสมาคมสปาแห่งประเทศไทย ควรให้ความสำคัญกับปัญหาเหล่านี้ โดยหาแนวทางการดำเนินงานของปัจจัยหลักที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญต่อธุรกิจสปา ได้แก่ การจัดให้มีบริการให้คำปรึกษาและฝึกอบรมด้านบริหารจัดการและการตลาดแก่ผู้ประกอบการ การศึกษาหาข้อมูลตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ มีการกําหนด ควบคุมมาตรฐานและคุณภาพของธุรกิจสปารวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในธุรกิจสปาให้เป็นที่ยอมรับของสากล ต้องสร้างทักษะ และความเชี่ยวชาญให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญคือ การหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนการดำเนินกิจการของ SMEs ไทย
          และจากการศึกษาของโครงการศึกษา วิเคราะห์ และเตือนภัย SMEs รายสาขา สสว. ได้ให้ข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์สำหรับกิจการสปา SMEs ที่เพิ่งก้าวเข้ามาในตลาด ที่ยังมีทุนในการดำเนินงานไม่มากพอ ขาดบุคลากรและประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญให้ใช้ยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า “Concentration Horizontal-Retrenchment” คือ การให้ความสำคัญไปที่ความสามารถเฉพาะที่มีอยู่แล้วขององค์กร (Existing Competence) ส่งเสริมการพัฒนางานโดยผ่านความสามารถเฉพาะ ทุ่มเทความสนใจไปที่ธุรกิจที่แข็งแกร่งที่สุด และใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้ธุรกิจนั้นเจริญเติบโตต่อไปในอนาคต โดยอาจเน้นตลาดที่มีความสำคัญต่อองค์กรมากที่สุดเพียงตลาดเดียว หรือทำกิจกรรมที่องค์กรสันทัดมากที่สุดเพียงอย่างเดียว ข้อดีของแนวคิดนี้คือ สามารถสั่งสมขีดความสามารถที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้วให้ไปสู่ความเป็นเลิศได้ สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ก็ยังมีข้อด้อย คือ การเติบโตอาจไปได้ช้า เพราะต้องพึ่งพาทรัพยากรและความสามารถจากภายในแต่เพียงอย่างเดียว มุ่งเน้นตลาดเดียว (Niche Market) หรือสินค้ากลุ่มเดียว
          ธุรกิจสปาจัดได้ว่าเป็นอนาคตของประเทศธุรกิจหนึ่งทีเดียว ซึ่งจะไปได้ดีมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของรัฐบาลว่าจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังหรือไม่ และที่มากกว่านั้นคือ ต้องดำเนินการบนพื้นฐานของความร่วมมือระหว่างกันทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีเจ้าภาพที่ชัดเจน ภายใต้กรอบแผนงานที่มีความเหมาะสมและเป็นรูปธรรม
   
ที่มา : ข้อมูลบางส่วนมาจากกรมส่งเสริมการส่งออก และสมาคมสปาไทย
รายงานการศึกษา วิเคราะห์ และเตือนภัย ธุรกิจบริการเสริมสร้างสุขภาพสปาและสังคม ปี 2550 โครงการศึกษาวิเคราะห์ และเตือนภัย SMEs รายสาขา (วต.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น